
Program Note
Toru Takemitsu
Itinerant: In Memory of Isamu Noguchi
โทรุ ทะเคะมิตสึ (Toru Takemitsu) คีตกวี นักเขียนเกี่ยวกับสุนทรียศาสตร์และนักทฤษฎีดนตรีชาวญี่ปุ่น เขาได้รับการยกย่องให้เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก ด้วยผลงานที่ผสมผสานระหว่างดนตรีตะวันตกให้เข้ากับเสียงเครื่องดนตรีตะวันออกแบบดั้งเดิม โดยเฉพาะ บิวา (กีต้าร์คอสั้น) และ ชาคูฮาชิ (ขลุ่ยไม้ไผ่) ในบทเพลงประกอบภาพยนตร์ บทประพันธ์ของเขามีการใช้เครื่องกระทบในรูปแบบที่ต่างออกไปจากเดิม เสียงออเครสตราสังเคราะห์ เขามีชื่อเสียงในการผสมผสานระหว่างปรัชญาของตะวันออกและตะวันตก เพื่อสร้างเสียงที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของเขาเอง เป็นการรวมกันของความแตกต่างระหว่างความเงียบและจารีตประเพณีในรูปแบบใหม่
ทาเคมิซึ มักถูกมองว่าเป็นนักประพันธ์เพลงที่เชื่อมต่อระหว่างตะวันตกและตะวันออก หรือความเป็นญี่ปุ่นและตะวันตก เขาได้เขียนงานวิจัยของเขาที่มีชื่อว่า “เสียงของตะวันตก และเสียงของตะวันออก” เขาได้ศึกษาค้นคว้าและเรียนรู้ด้วยตนเองในฐานะนักประพันธ์เพลง แต่เขาก็มีการยกย่องนับถือ เดบุซซี นักประพันธ์เพลงชาวฝรั่งเศสในเรื่องของการใช้สีสันของเสียง แสงและเงา ซึ่งถือเป็นจุดเด่นของงานประพันธ์ของเดบุซซี
Itinerant (พเนจร) ถูกประพันธ์ขึ้นด้วยความโศกเศร้าเพื่อมอบให้แก่ อิซามุ โนคุชิ เพื่อนผู้เป็นปะติมากร นักออกแบบ สถาปนิกและช่างฝีมือ ชาวญี่ปุ่น-อเมริกัน ซึ่งทำให้เขาได้รับวัฒนธรรมที่แตกต่างกันระหว่างพ่อและแม่ของเขา ระหว่างวัฒนธรรมตะวันตกและตะวันออก ตลอดช่วงชีวิตของเขา เขาได้เห็นการเปลี่ยนแปลงและสร้างสภาพแวดล้อมเพื่อจะหาทางออกให้กับญี่ปุ่น ทั้งคู่ต่างสนใจในการสำรวจความแตกต่างระหว่างศิลปะตะวันออกและตะวันตก และนี่คือสิ่งที่ทำให้เกิดการพูดคุยเกี่ยวกับปรัชญาระหว่างทะเคะมิตสึและโนคุชิ
โนคุชิ ได้พยายามปรับช่องว่างที่มีอยู่เพื่อแสดงความงามตามธรรมชาติในแต่ละสถานที่ เพื่อให้สอดคล้องกับธรรมเนียมการจัดสวนของญี่ปุ่น เขาเชื่อว่าคนเราสามารถเข้าใจการต่อสู้ของมนุษย์กับธรรมชาติผ่านรูปปั้นและสถาปัตยกรรมได้ดียิ่งขึ้น ทาเคมิซึจึงได้ประพันธ์บทเพลงนี้เป็นการต่อสู้ระหว่างเสียงกับความเงียบ และธรรมชาติของเสียงในรูปแบบของตะวันตกที่ผิดแปลกออกไป บทเพลงนี้แสดงครั้งแรกโดย พอลลา โรบิสัน ที่พิพิธภัณฑ์ อิซามุ โนคุชิ รัฐนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1989
Toru Takemitsu was a Japanese composer and writer on aesthetics and music theory. He has been praised and recognized throughout the world for his combination of the opposites such as sound & silence, tradition & innovation, Western music & traditional oriental music especially the biwa (a short-necked lute) and the shakuhachi (a bamboo flute) in film scores, and also for his unusual use of percussion, electronic for orchestral sounds.
Takemitsu is often seen as a composer connecting East and West or Japanese and Western, Takemitsu explored this idea in his essay "Sound of East, Sound of West” He was self-taught as a composer, but he admired Debussy’s use of colors, of light and shadow, which is a focal points of sound in Debussy’s works.
Itinerant was written in grief for the death of his friend Noguchi Isamu who was a Japanese-Americans sculptor, designer, architect and craftsman. Being born intercultural, this is the basis of philosophical discussions between Noguchi and Takemitsu.
In keeping with the Japanese garden tradition, Noguchi had been trying to adapt the existing space to show the natural beauty of each place. He believed that we can understand humans’ struggle through sculpture and architecture. Takemitsu translated this to music as a struggle between silence and sound and the sound unnaturally captured into traditional Western forms. Takemitsu and Noguchi were both interested in exploring the difference between Eastern and Western arts. The first performance was given by Paula Robison at the Isamu Noguchi Museum in New York on February 7, 1989.
Jacques Ibert - Entr’acte
ฌาค อีแบร์ (Jacques Ibert) คีตกวีชาวฝรั่งเศส พ่อของเขาเป็นผู้จัดหาเงินทุน แม่ของเขาเป็นนักเปียโน เธอเริ่มฝึกดนตรีให้แก่อีแบร์ตั้งแต่เขาอายุ 4 ปี แม้ว่าเขาจะได้รับการคัดค้านจากพ่อของเขา แต่เขาก็ยังคงทำตามความฝันของเขาและได้กลายเป็นนักดนตรีในที่สุด เขาได้เข้าศึกษาที่สถาบันดนตรีกรุงปารีส (Paris Conservatoire) ในปีค.ศ. 1910 ถึง ปีค.ศ. 1914
อีแบร์ เป็นผู้อำนวยการสถาบันการศึกษาของฝรั่งเศส (Académie de France) ที่ วิลลา เมอร์ดีซี (Villa Medici) ในกรุงโรม ประเทศอิตาลี ในช่วงสงครามโลกครั้งที่2 เขาถูกเนรเทศโดยกลุ่มรัฐบาลปารีสซึ่งในเวลานั้นให้การสนับสนุนพรรคนาซี เขาจึงย้ายไปพำนักอยู่ที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ อีแบร์กลับมามีชื่อเสียงอีกครั้งหลังจากสงคราม และตำแหน่งหน้าที่การงานสุดท้ายของเขาได้เปลี่ยนไปเป็นผู้ดูแลโรงอุปรากร บทประพันธ์ของเขาได้รับการยกย่องในสไตล์นีโนคลาสสิคที่เต็มไปด้วยเทคนิคและสีสันที่หลากหลาย
อองทราค (Entr'acte) ถูกประพันธ์ขึ้นในปีค.ศ. 1935 ให้แก่นักฟลู้ท นักไวโอลิน และนักกีตาร์ และตั้งแต่มีการตีพิมพ์ บทประพันธ์ได้กลายเป็นที่รู้จักและได้มีการนำไปดัดแปลงสำหรับเครื่องดนตรีอื่นๆ อองทราค เป็นบทประพันธ์สั้นๆ แต่เป็นผลงานที่ได้รับการยอมรับมากที่สูดเพลงหนึ่ง และเป็นผลงานสำหรับวรรณกรรมและดนตรีของสเปน เขาประพันธ์ขึ้นสำหรับละครเวทีสเปนเรื่อง เอล เมดิโก เดอ ซู ออนรา ( El médico de su honra) ของ เพโดร การ์เดรลอน (Pedro Calderón) เขาได้รับแรงบันดาลใจมาจากกีต้าร์ฟลามิงโก และจินตการไปถึงภาพของนักเต้นที่มีชีวิตชีวา
Jacques Ibert was a French composer. His father was a financier and his mother an accomplished pianist. She began his musical training when Ibert was four years old, and despite objections from his father he still pursued his dream and became a musician. He studied music at the Paris Conservatoire from 1910 to 1914.
Ibert was the director of the Académie de France at the Villa Medici in Rome. During World War II, he was deported by the pro-Nazi government in Paris and resided in Switzerland. Restored to his former eminence after the war, his final musical appointment was to be in charge of the Paris Opera and the Opéra-Comique. His music is admired for its colourful, technically polished, and often witty neoclassical style.
Entr’acte was written in 1935. Entr'acte is an exciting addition to the intermediate Flute, Violin and Guitar repertoire. It has been transcribed for many other instruments since its original publication. Entr'acte is one Ibert most recognized piece. This brief but brilliant work shows his interest in Spanish literature and music. He wrote music for a French production of Pedro Calderón’s “El médico de su honra.” He was inspired by Flamenco guitar music and picture of lively dance.
Astro Piazzolla - Histoire du Tango:
Cafe 1930 and Nightclub 1960
แอสโท ปิแอสโซลา (Astor Piazzolla) นักประพันธ์แทงโกชาวอาร์เจนตินา ผู้เชี่ยวชาญหีบเพลง พ่อและแม่ของเขาเป็นชาวอิตาเลียนที่อพยพย้ายไปอยู่รัฐนิวยอก ประเทศสหรัฐอเมริกา เขาจึงได้มีโอกาสสัมผัสกับเพลงแจ๊ส และเพลงของโยฮันน์ เซบาสเตียน บาค ตั้งแต่อายุยังน้อย เขาปฏิวัติการเต้นแทงโกแบบดั้งเดิมไปสู่การเต้นแทงโกในรูปแบบใหม่ เขาสร้างแทงโกในรูปแบบใหม่โดยการผสมผสานระหว่างดนตรีแจ๊ส และดนตรีคลาสสิค
ปิแอสโซลา เป็นนักหีบเพลงที่มีพรสวรรค์เป็นอย่างมาก เขาแสดงผลงานการประพันธ์ของเขาเป็นประจำกับวงดนตรีมากมาย ตลอดช่วงชีวิตของเขา เขาตระหนักถึงลักษณะการเปลี่ยนแปลงของการเต้นรำของอเจนตินา และเขายังเป็นนักแต่งเพลงละตินอเมริกาที่สำคัญในศตวรรษที่ 20 อีกด้วย
ฮีสตัวร์ ดู แทงโก (Histoire du Tango) เป็นหนึ่งในบทประพันธ์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังของปิแอสโซลา โดยแรกเริ่มเดิมทีประพันธ์ขึ้นสำหรับฟลู้ทและกีตาร์ในปีค.ศ. 1986 แต่มักจะมีการผสมผสานเครื่องดนตรีที่แตกต่างกันออกไป บทประพันธ์ของปิแอสโซลา แทงโกที่แต่เดิมแสดงในห้องโถงและห้องเต้นรำของอาร์เจนตินา ถูกนำขึ้นมาแสดงในห้องโถงคอนเสิร์ตของยุโรปและอเมริกา
ฮีสตัวร์ ดู แทงโก เป็นเพลงชุดที่ถ่ายทอดเรื่องราวและวิวัฒนาการของแทงโก ซึ่งประพันธ์ขึ้นมาทั้งหมด 4 ท่อน บอร์เดล 1900 (Bordello 1900), คาเฟต์ 1930 (Cafe 1930), ไนท์คลับ 1960 (Nightclub 1960) และ คอนเสิร์ต ดูชูค์ดุย (Concert d'Aujourd'hui) การแสดงในครั้งนี้ได้เลือกหยิบขึ้นมาทำการแสดงทั้งหมด 2 ท่อน คือ คาเฟ่ 1930 (Cafe 1930) และ ไนท์คลับ 1960 (Nightclub 1960)
คาเฟ่ 1930 (Cafe 1930) ในปีค.ศ. 1930 ถือเป็นยุครุ่งเรืองของแทงโก ตัวบทเพลงมีความไพเราะมากขึ้น และเต็มเปี่ยมไปด้วยจินตนาการ บทประพันธ์บทนี้มีการเปลี่ยนแปลง โดยแนวทำนองมีจังหวะที่ช้าลง เหมือนเสียงร้องที่มีความรู้สึกโศกเศร้า คร่ำครวญ
ไนท์คลับ 1960 (Nightclub 1960) เป็นช่วงเวลาที่เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นอย่างรวดเร็ว และแทงโกได้ถูกพัฒนาขึ้นอีกครั้ง เมื่อบราซิลและอาร์เจนตินามีการการรวมตัวกันที่เมืองบัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา ผู้คนต่างออกไปสถานเริงรมย์ยามค่ำคืนเพื่อรับฟังบทเพลงแทงโกในรูปแบบใหม่ และนี่คือการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ของแทงโก
Astor Piazzolla was an Argentine tango composer and bandoneon player. He was a major Latin American composer of the 20th century. His parents were Italian immigrants who moved to New York City. Therefore, He was exposed to both jazz and the music of J.S. Bach at an early age. He recognized the changing style of Argentine national dance throughout his life. He revolutionized the traditional tango into a new style called nuevo tango, a new tango that combines elements of jazz and classical music. Piazzolla was a virtuoso bandoneonist. He regularly performed his own compositions with various ensembles.
Histoire du Tango
Histoire du Tango is one of the most famous compositions of Astor Piazzolla. Originally written for flute and guitar in 1986, It is now often played with different combinations. It was Piazzolla's desire to bring the tango from the bordellos and dance halls of Argentina into the concert halls of Europe and America.
Piazzolla retraced the history of Argentine tango throughout the 20th century with Histoire du Tango, to conveying Tango's story and evolution in four movements: Bordello 1900, Café 1930, Night club 1960 and Concert d'Aujourd'hui.
Cafe, 1930: This is the era of Tango. It became more musical and more romantic. This tango has been totally changed. The movement slows down with new often sorrow harmonies. The kind of tango is sometimes sung as well.
Night Club, 1960: This is a time of rapid international exchange and Tango evolved again when Brazilian and Argentinian gathered in Buenos Aires. The audiences rushed to the nightclub to listen to this new tango. This brought a revolution to some traditional tango styles.